Mentor สู้ ๆ Mentee สู้ตาย
#ทีมลูกเกด #ทีมคริส #ทีมบี
เป็นอีกหนึ่งรายการที่กระแสแรงมาก ทั้งในโลก Online และ Offline ใครก็ติดตามกันว่าวีคนี้จะมีดราม่าอะไรเด็ด ๆ ให้ได้ดูกัน Mentor แต่ละคนจะงัดกลยุทธ์แบบไหนมาใช้เพื่อให้ลูกทีมชนะ และอยู่รอดต่อไปกับรายการ
Strong ! Strong ! Strong !!!!!!
หน้าที่ของ Mentor ในรายการ The Face Thailand คือทำให้ทีมชนะในแต่ละ Campaign เพื่อส่งให้ลูกทีมของตนเองได้เป็น The Face ในที่สุด
ซึ่งพี่ลูกเกดไม่ได้เล่น ๆ ค่ะ ^_^’
แล้วบทบาทของ Mentor ในที่ทำงานล่ะ เป็นยังไง ต้องทำอะไร ทำให้ใคร แล้วทำไมต้องมี ไม่มีได้มั้ย ?
Mentoring System หรือบ้านเราเรียกว่า ระบบพี่เลี้ยง เป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาพนักงานอย่างหนึ่ง ว่ากันง่าย ๆ ก็เหมือนระบบรุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัย ที่เราอาจจะไม่ได้สอนเป็นเฉพาะเจาะจงเป็นวิชาแล้วจบ ๆ ไป (ซึ่งนั่นเป็นหน้าที่ของอาจารย์) แต่หน้าที่ของรุ่นพี่ ในฐานะที่มาก่อนและมีประสบการณ์มากกว่า ก็เอาประสบการณ์ที่ตนเองมี มาแนะนำรุ่นน้องที่อ่อนประสบการณ์กว่า ให้เค้าปรับตัวเข้ากับองค์กรได้ ควรทำงานแบบไหนเพื่อให้ตรงใจ ซึ่งการให้คำแนะนำทำได้ทั้งแบบเป็นทางการ คือนั่งสอน นั่งติวกันเลย หรือแบบไม่เป็นทางการ เช่น ไปกินข้าว แล้วก็แนะนำการใช้ชีวิตในองค์กรว่าอันไหนทำแล้วจะเกิด ทำแล้วจะดับ
Mentoring is a brain to pick, an ear to listen, and a push in the right direction. (SHRM.Org)
Mentor เป็นที่พี่ ทั้งเพือน ทั้งทีพึ่ง และก็เป็นกำลังในเวลาที่น้องใหม่ไปเจออะไรหนัก ๆ มา จึงไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็น Mentor ที่ดีได้ บริษัทที่นำระบบ Mentor มาใช้ จึงต้องคัดสรร Mentor มาด้วย เพราะ Mentor จะต้องแบบ Role Model ให้กับรุ่นน้องได้ และบริษัทก็ควรจะมีการติดอาวุธให้กับ Mentor ด้วย อย่าแค่ว่าบอกให้เค้าเป็น Mentor โดยไม่บอกเลยว่าการเป็น Mentor ควร หรือไม่ควรทำอะไร รวมถึงจัดสรรประมาณในการสร้างความสัมพันธ์กับน้องใหม่ด้วย ไม่ใช่ให้เค้าออกเองจ่ายเองตลอด แบบนี้ไม่แฟร์ และควรมี Reward ให้กับ Mentor ด้วย จะเป็น Bonus เพิ่มหรืออะไรที่เป็นแรงจูงใจที่ดีให้กับ Mentor ได้ ก็จะทำให้ Mentor รู้สึกว่าตัวเค้าไม่ได้ทุ่มเทแรงเปล่า ๆ
ที่บริษัทผม บริษัทหนู ไม่เห็นมีระบบ Mentor เลย ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลยหนิ ?
ถูกครับ ไม่มีก็ไม่ผิด แต่การมีระบบ Mentor มีข้อดีตรงคือ เด็กใหม่ที่เข้ามา ไม่เคว้ง มีคนให้คำปรึกษาในเรืองการปรับตัว หลาย ๆ ครั้งพนักงานใหม่ที่เราเลือกเข้ามา ด้วยบุคลิกภาพ ไม่ใช่คนกล้าแสดงออก ปรับตัวไม่เก่ง ไม่มีดึงเข้่าสังคม เข้าวงกินข้าว ก็จะรู้สึกแปลกแยก ก็อาจจะไม่อยากทำงานเพราะรู้สึกไม่มีเพื่อนเลย นี่แค่เรืองการปรับตัวนะครับ ยิ่งถ้าเรืองงาน ไม่มีคนแนะนำ จะให้หัวหน้างานโดยตรงเป็นคนสอนอยู่ตลอด เด็กใหม่อาจจะไม่กล้าถาม เพราะกลัวว่าถามบ่อย ๆ หัวหน้าจะรำคาญ หรือกลัวหัวหน้าจะมองว่าเราไม่ได้เรือง ไม่ฉลาด อาจจะไม่ผ่านโปรเอาได้ง่าย ๆ
ในขณะที่ Mentor มีสิทธิเพียงให้ความเห็นเท่านั้น ไม่มีสิทธิในการให้คุณให้โทษกับน้องใหม่
สำหรับคนที่เป็น Mentor คุณคือคนที่ถูกเลือกให้เป็นแบบอย่าง นั่นคือสิ่งที่คุณควรจะภูมิใจ แม้ว่าการมีน้องเลี้ยงมาให้เรา อาจจะเป็นภาระเพิ่มของเราก็ตาม …..
ส่วนน้องเลี้ยง ก็ต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากพี่เลี้ยงอย่างเหมาะสมนะครับ ไม่ใช่เอะอะถาม เอะอะถาม ไม่หาความรู้ด้วยตนเองเลย แบบนั้นโอกาสรอด หรือผ่าน Probation ก็คงไม่ง่ายเช่นกันครับ
ปล. ผมเชียร์น้องกวางครับ
#HRTheNextGen
Gen NEXT is Coming ?

ปนัดดา เจณณวาสิน ผู้บริหารระดับสูงหญิงเดียวของ บจก.ตรีเพชรอีซุซุเซลส์
“ฉะนั้นดิฉันจะไม่ยอมและไม่เคยคิดว่าตัวเองหวงงาน ไม่สนใจหรอกที่จะเก็บไว้ทำคนเดียว ดิฉันเองก็อยากจะทำงานที่ท้าทายซึ่งยากกว่า ท่านประธานฯ เองก็สอนให้เราฝึกฝนงานน้องๆ เขาบอกว่าเราจะไม่มีทางเป็นใหญ่ได้เลยถ้าเราไม่เอางานของเราให้คนเล็กทำ เราหวงงานไม่ให้คนเล็กทำ ไม่เคยสอนให้คนเล็กรู้เลยแล้วเราจะเป็นใหญ่ได้อย่างไร อีกอย่างเขาสอนด้วยว่าถ้าคนเล็กทำงานไม่ดีเราก็ไม่ดีด้วย ไม่ใช่อีโก้ ให้คนอื่นรู้ว่าถ้าปนัดดาทำแล้วไม่เจ๊ง แต่น้องทำเจ๊งอย่างนี้ไม่ได้ น้องเจ๊งดิฉันก็ต้องรับผิดชอบ”
ที่มา : Interview : การเดินทางของเพชร การเดินทางของชีวิต ปนัดดา เจณณวาสิน
http://goo.gl/qx0Ej3
ถ้าได้อ่านประวัติของคุณปนัดดาแล้ว คงจะนับถือในความเก่ง และมุ่งมั่นของคุณปนัดดา ซึ่งน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับ Working Woman ได้เป็นอย่างดีนะครับ
แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ผมเห็นจากบทความข้างต้นก็คือ คุณปนัดดาน่าจะเป็นหัวหน้าที่ลูกน้องรักไม่น้อยเลยทีเดียว การเห็นความสำคัญของลูกน้อง การให้โอกาสลูกน้องได้ลองทำงานที่ท้าท้าย และคอยสนับสนุนลูกน้อง เพื่อให้ลูกน้องได้เติบโตในหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้แสดงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแน่นอนถ้าทำได้ก็จะส่งผลต่อไปถึงการเติบโตในสายอาชีพของตวเค้า แต่หากลูกน้องทำพลาด ก็จะออกหน้ากางปีกรับผิดชอบในฐานะ Leader ที่ดี
นี่แหละครับ Leader ที่ลูกน้องจะรักและอยากทำงานให้สุดความสามารถของเค้า
หากตอนนี้ใครอยู่ในสถานะของลูกน้อง ถ้าคุณเจอ Leader ที่มีคุณลักษณะข้างต้น ก็ถือเป็นโชคดีอย่างมากของคุณครับ ส่วนถ้าใครที่อยู่ในฐานะของ Leader มีจุดไหนบ้างที่เป็นจุดแข็งของเราที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับลูกน้องเป็นไปได้ด้วยดี ในลักษณะของการการเกื้อกูลกัน อาจจะเหมือนหรืออาจจะต่างกันได้ เพราะไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว
เพราะ Leader นั้นสำคัญมาก และติด Top 3 เมื่อถามถึงสาเหตุของการลาออกของพนักงาน
Work Hard ยาพิษของ Gen Y
“อีกเรืองคือ ผมจะห้ามเลยนะ ทุ่มสองทุ่มแล้วยังเจอพนักงานเด็ก ๆ รุ่นใหม่มานั่งทำงานกันเต็มตึกไปหมด ดึกขนาดนี้แล้วมันเป็นเวลาที่คุณควรได้ไปพักผ่อน ไปอยู่กับแฟน ครอบครัว ทานข้าว ดูหนังฟังเพลง พวกคุณไม่ควรต้องอยู่ทำงานที่นี่ในเวลานี้ ซึ่ง ปตท ก็ไม่ควรต้องมาจ่ายค่าไฟฟ้าด้วย ปตท จ่ายค่าตอบแทนคุณแค่ 5-6 โมงเย็น คุณมาทำอะไรให้ผมตั้งทุ่มสองทุ่ม เราต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานกันใหม่ ผมไม่ชอบ Work Hard นะ ผมชอบ Work Smart ผมอยากให้พวกเราเติมเต็มครอบครัวของคุณ เพราะเมื่อไหร่ที่ครอบครัวคุณแข๋็งแรง ครอบครัว ปตท ของเราก็แข็งแรง” —— ส่วนหนึ่งของข้อคิดจาก ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีต CEO ที่ส่งถึงพนักงาน ปตท
นี่เป็นอีกหนึ่งทัศนคติ และวัฒนธรรมที่โดนใจ Gen Y มากนะครับ เพราะ Gen Y ไม่เชื่อในเรืองของการทำงานหนัก และจะมีคำถามเสมอว่าทำไมจะต้อง “ทำเหมือนว่า” งานหนักทั้งที่จริง ๆ มีวิธีการทำงานที่ง่ายกว่านั้น ทำไมถึงกลับบ้านก่อนหัวหน้า หรือคนอื่นไม่ได้ทั้งที่ทำงานเสร็๋จแล้ว และคนที่อยู่ดึกทุกวัน ขยันทำโอที แปลว่าดี ทุ่มเท และรักบริษัท ?
เอ๊ะ หรือคนกลุ่มนี้ทำงานไม่เป็น ทำงานช้าจนเกินเวลา หรือ Manpower น้่อยเกินไป หรือบริษัทไม่ลงทุนในระบบที่จะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ต้องมา Manual ซ้ำไปซ้ำมา
แล้วถ้าต้องทำงานกับบริษัทที่ให้คุณค่ากับการทำงานหนักแบบนี้ ทุ่มเทแบบนี้ Gen Y จะยังทำอยู่หรือ ? คำตอบคือ ทำครับ แต่ทนทำไปนะ รอไปเจอที่ที่ดีกว่า หรือที่พีคกว่า Gen ํY ตัวพ่อตัวแม่ทั้งหลายก็โบกมือลาเลย ผม / ชั้น อยากมีเวลาไปดูหนังฟังเพลงอยู่กับแฟน ไม่ใช่อยู่กับ Manager
ถ้า Gen Y คือกลุ่มคนที่สำคัญสำหรับคุณ ที่จะช่วยรักษาให้องค์กรอยู่รอดต่อไปได้ คุณต้องปรับตัวครับ ทั้งตัวองค์กรเอง ทั้งผู้บริหารและ Line Manager กับปรับทัศนคติและสื่อสารกันจะทำให้เข้า่ใจกันมากขึ้นกว่าเดิม เหมือนอย่างที่ ปตท ทำ
แต่จะได้ผลมากแค่ไหน จะมีอะไรที่มากกว่านี้อีกมั้ย คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มนะครับ
#HRTheNextGen